ตอบ ข้อ  3
คำอธิบาย    ขยะมูลฝอยจากครัวเรือน มี 3 ส่วนหลักๆ ก็คือ ขยะย่อยสลายได้ ขยะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ขยะทั่วไป และขยะอันตราย โดยการกำจัดขยะแต่ละประเภทจะมีวิธีที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม แต่ไม่มีวิธีใดเพียงวิธีเดียวที่จะสามารถกำจัดขยะหรือลดปริมาณขยะลงได้เกิดผลดีที่สุด การใช้แนวคิดการผสมผสานวิธีการกำจัดแบบต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นทางออกที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น การใช้วิธีการรีไซเคิลร่วมกับการทำปุ๋ยหมัก เพื่อลดปริมาณขยะรีไซเคิลและขยะอินทรีย์ ก่อนที่จะนำไปฝังกลบหรือการเผาขยะประเภทอื่นๆ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อลดภาระการกำจัดขยะในขั้นท้ายสุดลง การกำจัดขยะแบบต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมี 5 วิธีด้วยกัน ได้แก่ การเท-กอง การฝังกลบ การเผา การทำปุ๋ยหมัก และการรีไซเคิล 1) การเท-กอง เป็นวิธีที่ไม่มีรูปแบบหรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ไม่มีการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนการเทกองแบบควบคุม เป็นการเทขยะในพื้นที่ที่มีรั้วกั้นและทำการบดอัด มีเจ้าหน้าที่ดูแล ข้อดีของการเทกองคือการใช้งบประมาณไม่สูงนัก วิธีการไม่ยุ่งยาก แต่ก็มีข้อเสียคือ ต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนมากๆ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง 2) การฝังกลบ เป็นการนำขยะมาเทรวมกันในหลุมขนาดใหญ่ที่ขุดเตรียมไว้ แล้วใช้รถแทรกเตอร์เกลี่ยและทำการบดอัดให้ขยะยุบตัวลงก่อนใช้ดินกลบทับ และบดอัดให้แน่นเป็นชั้นๆ เพื่อให้สามารถใช้งานบ่อฝังกลบให้นานที่สุด และไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่น พาหะนำโรคต่างๆ รวมทั้งน้ำฝนที่ตกลงมาชะล้าง 3) การเผา เป็นวิธีการกำจัดขยะที่สามารถกำจัดขยะทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ด้วยกระบวนการสันดาป ทำให้ขยะเปลี่ยนสภาพเป็นเถ้า ไอเสีย หรือสิ่งที่ไม่สามารถเผาได้อีก วิธีเผานี้สามารถลดปริมาณขยะลงได้ร้อยละ 80-90 โดยน้ำหนักของขยะทั้งหมด อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาไหม้จะอยู่ระหว่าง 850 -1,200 องศาเซลเซียส 4) การทำปุ๋ยหมัก ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการกำจัดขยะสด หรือขยะเศษอาหาร วิธีการนี้จะได้ผลดีมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อได้ทำการคัดแยกขยะที่ไม่ย่อยสลายออกเสียก่อน เช่น เศษแก้ว พลาสติก โลหะ เป็นต้น การทำปุ๋ยหมักเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายๆไม่ซับซ้อน เพียงนำขยะที่ย่อยสลายได้มาใส่ไว้ในบ่อหมัก เติมอากาศให้เพียงพอและใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่เหมาะสมในการย่อยสลาย ผลผลิตที่ได้จะมีสีดำคล้ายดิน มีธาตุอาหารที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชครับ 5) การรีไซเคิล วิธีนี้เป็นการนำขยะหรือวัสดุที่ใช้แล้ว หรือวัสดุที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต กลับมาผ่านกระบวนการแปรรูป เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น นำขวดแก้วเก่ามาบดแล้วหลอม เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขวดแก้วใหม่ หรือการนำบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมมาหลอม เพื่อนำกลับไปผลิตใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
ที่มา  http://www.ryt9.com/s/prg/427866


  
    ตอบ ข้อ 1
    คำอธิบาย   การคายความร้อน ภาชนะที่เป็นโลหะสีดำสามารถคายพลังงานความร้อนได้ดี และภาชนะที่เป็นแก้วและมีสีขาว จะมีความสามารถในการคลายพลังงานความร้อนได้ต่ำ สรุปได้ว่า วัตถุที่เป็นตัวนำความร้อนจะมีการดูดกลืนและคายพลังงานความร้อนได้ดีกว่า วัตถุที่เป็นฉนวนความร้อน และวัตถุที่มีดำจะมีการดูดกลืนและคายความร้อนได้เร็วกว่าวัตถุสีขาว

 การคายความร้อน ภาชนะที่เป็นโลหะสีดำสามารถคายพลังงานความร้อนได้ดี และภาชนะที่เป็นแก้วและมีสีขาว จะมีความสามารถในการคลายพลังงานความร้อนได้ต่ำ สรุปได้ว่า วัตถุที่เป็นตัวนำความร้อนจะมีการดูดกลืนและคายพลังงานความร้อนได้ดีกว่า วัตถุที่เป็นฉนวนความร้อน และวัตถุที่มีดำจะมีการดูดกลืนและคายความร้อนได้เร็วกว่าวัตถุสีขาว
                                  

ตอบข้อ 4
อธิบาย 
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี
ชนิดของปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมีนั้นสามารถจำแนกได้เป็นหลายชนิดและประเภท โดยหลักในการจำแนกนั้นขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ในการจัดกลุ่มจำแนก แต่ส่วนมากแล้วจะแบ่งได้เป็น 5 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
  • ปฏิกิริยาการรวมตัว หรือการสังเคราะห์ (Combination reaction หรือ synthesis) คือการที่สารบริสุทธิ์หรือสารประกอบทางเคมี รวมสารเข้าด้วยกันและก่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ซับซ้อนกว่า
โครงสร้าง: A+Z → AZ
ตัวอย่าง: N2 + 3H2 → 2NH3
  • ปฏิกิริยาการสลายตัว หรือการวิเคราะห์ (Decomposition reaction หรือ analysis) คือการที่สารประกอบสลายตัวมาเป็นสารประกอบหรือสารบริสุทธิ์ที่เล็กกว่า
โครงสร้าง: AZ → A+Z
ตัวอย่าง: 2H2O → 2H2 + O2
ที่มา

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5

  
    ตอบ ข้อ  2
อธิบาย  การเกิดปฏิกิริยาเคมี      ถ้านักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี ... มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม... เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้น
  ปฏิริยาเคมีคืออะไร     ปฏิกิริยาเคมี  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสารแล้วส่งผลให้ได้สารใหม่ที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยในการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะต้องเกิดจากสารตั้งต้น (reactant) ทำปฏิกิริยากัน แล้วเกิดเป็นสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
  ปฏิกิริยาเคมีแบ่งออกได้  5  ชนิด ได้แก่      1. ปฏิกิริยาการรวมตัว                         A +Z         ------->           AZ      2. ปฏิกิริยาการสลายตัว                       AZ            ------->           A +Z      3. ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว             A + BZ       ------->           AZ + B      4. ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่                  AX+BZ       ------->           AZ + BX       5. ปฏิกิริยาสะเทิน                            HX+BOH     ------->          BX + HOH  
  ที่มาhttp://www.tps.ac.th/~narin/basicchem/index_files/page0013.htm
ตอบข้อ  4
อธิบาย
 พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน
        พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน
        พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น
        พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particle Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น
        พลังงานนิวเคลียร์ บางครั้งใช้แทนกันกับคำว่า พลังงานปรมาณู นอกจากนี้พลังงานนิวเคลียร์ยังครอบคลุมไปถึงพลังงานรังสีเอ็กซ์ด้วย
   (พ.ร.บ. พลังงานเพื่อสันติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2508) พลังงานนิวเคลียร์ สามารถปลดปล่อยออกมาเป็นพลังงานหลายรูปแบบ เช่น พลังงานความร้อน
   รังสีแกมมา อนุภาคเบต้า   อนุภาคอัลฟา อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น
        รูปแบบของพลังงานนิวเคลียร์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะวิธีการปลดปลิอยพลังงานออกมา คือ
        พลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาในลักษณะเฉียบพลัน
    เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled reactions) พลังงานของปฏิกิริยาจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดการระเบิด (Nuclear Explosion) สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการเช่นนี้ ได้แก่ ระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) หรือระเบิดไฮโดรเจน และหัวรบนิวเคลียร์ แบบต่างๆ การใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในโครงการด้านสันติ เช่นการขุดหลุมลึก (Cratering) ขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น เคยมีโครงการจะนำมาใช้ขุดคลองที่คอคอดกระ จังหวัดระนอง เพื่อทำเป็นคลองน้ำลึก สำหรับให้เรือสินค้า เรือเดินสมุทรแล่นผ่านโดยไม่ต้องอ้อมประเทศมาเลเซีย การขุด อ่างเก็บน้ำ การทำท่าเรือน้ำลึก และการตัดช่องเขา เป็นต้น การขุดทำโพรงใต้ดิน(Contained Explosion) สำหรับกระตุ้นแหล่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในชั้นหินลึก และในการผลิตแหล่งแร่ เป็นต้น
ที่มาhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/101/2/html/new.html

ตอบข้อ 1

อธิบาย
 
ตอบข้อ 3
อธิบาย   
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ คือปฏิกิริยาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนิวเคลียสของอะตอม ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มหรือการลด โปรตอนหรือนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม เช่นปฏิกิริยานี้
{}^{23}_{11} Na + {}^1_0 n \rarr {}^{24}_{11} Na + \gamma
จะเห็นได้ว่าโซเดียม ได้มีการรับนิวตรอนเข้าไป เมื่อนิวเคลียสเกิดความไม่เสถียร จึงเกิดการคายพลังงานออกมา และพลังงานที่คายออกมานั้น เมื่ออยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแล้ว มันก็คือรังสีแกมมานั่นเอง
โดยทั่วไป รังสีแกมมาที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียรนั้น มักจะมีค่าพลังงานที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของไอโซโทป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะประจำไอโซโทปนั้น ๆ
อะตอม (กรีก: άτομον; อังกฤษ: Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มเมฆของอิเล็กตรอนประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยส่วนประสมระหว่างโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมหนึ่งๆ ที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่าๆ กันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวกหรือลบก็ได้ เรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกคุณสมบัติทางเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกความเป็นไอโซโทป[1]
คำว่า อะตอม มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งมีความหมายว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบเล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไปด้วยกระบวนการทางเคมี ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ยังสามารถแบ่งแยกได้ หลักการของกลศาสตร์ควอนตัมเป็นหลักการที่นำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ[2][3]
ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กมากที่มีมวลน้อยมากๆ เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น scanning tunneling microscope มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมจะกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียส[note 1] โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่าๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปลงรูปทางนิวเคลียร์ที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป[4] อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม
อนุภาคหลักที่พบได้ในอะตอมทั่วไปมี 3 ชนิด คือ
  • โปรตอน มีประจุบวก อยู่ในส่วนนิวเคลียสเป็นแกนกลางของอะตอม
  • นิวตรอน ซึ่งไม่มีประจุ น้ำหนักใกล้เคียงกับโปรตอน ในอะตอมบางชนิดไม่มีนิวเคลียส เช่นอะตอมของโปรเทียม (ไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจน)
  • อิเล็กตรอน มีประจุลบ เบากว่าอนุภาคทั้งสองชนิดแรกมาก เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วอยู่รอบนิวเคลียส
อะตอมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานทางเคมีซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงตามปฏิกิริยาเคมี ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติบนโลกนี้นั้นมีปรากฏอยู่ประมาณ 90 ชนิดเท่านั้น (นอกเหนือจากนี้มี ธาตุบางชนิดเช่น เทคนิเซียม และ แคลิฟอร์เนียม ที่พบได้ในซูเปอร์โนวา และธาตุที่เลขอะตอมสูง (มากกว่า 100 ขึ้นไป) ที่สามารถสังเคราะห์ได้จาก การนำอะตอมมาชนกันด้วยความเร็วสูง)
นอกจากธาตุที่เกิดตามธรรมชาติแล้ว ยังมีธาตุที่ถูกสร้างขึ้น แต่ธาตุเหล่านี้มักจะไม่เสถียร และ สลายไปเป็นธาตุอื่นที่เสถียร โดยกระบวนการสลายกัมมันตรังสี ตัวอย่างเช่น Beta Decay, Double Beta Decay, Beta Capture, Gamma Decay และอื่น ๆ
ถึงแม้ว่าจะมีธาตุที่เกิดตามธรรมชาติเพียง 90 ชนิด อะตอมของธาตุเหล่านี้สามารถสร้างพันธะเคมี รวมกันเป็นโมเลกุล และองค์ประกอบชนิดอื่นๆ โมเลกุลเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมหลายอะตอม เช่น โมเลกุลของน้ำเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมไฮโดรเจน 2 อะตอม และ อะตอมออกซิเจน 1 อะตอม

ตอบข้อ  3

โครงสร้างอะตอม


              ดีโมครีตัส ( นักปราชญ์ชาวกรีก) ได้กล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจาก อนุภาคที่เล็กมาก  เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้   อนุภาคเล็กๆ เหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆ สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้  ดีโมครี- ตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า อะตอม (Atom)   จากภาษากรีกที่ว่า  atoms  ซึ่งมีความหมายว่า  ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก   ตามความคิดเห็นของเขา  อะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้


ตอบข้อ 2
อธิบายอิเล็กตรอน (อังกฤษ: Electron) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบวิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสตามระดับพลังงานของอะตอมนั้นๆ โดยส่วนมากของอะตอม จำนวน อิเล็กตรอน ในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีเท่ากับจำนวน โปรตอน เช่น ไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว ฮีเลียมมีโปรตอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99
ตอบข้อ  1
อธิบาย
ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี
ธาตุที่เบาที่สุดคือ ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม ซึ่งเป็นสองธาตุแรกสุดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบิ๊กแบง ธาตุอื่นๆนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นด้วยมนุษย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสังเคราะห์นิวเคลียส
จนถึงปี ค.ศ. 2004 มีธาตุที่ถูกค้นพบทั้งหมด 116 ธาตุ (ดู ตารางธาตุ) ในจำนวนนี้มี 91 ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วน 25 ธาตุที่เหลือนั้นเป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้น โดยธาตุแรกที่ถูกสร้างขึ้นคือเทคนีเชียม ในปี ค.ศ. 1937 ธาตุที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ทั้งหมดเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้น ดังนั้นธาตุเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลกนั้น ก็ได้สลายตัวไปหมดแล้ว

อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากันนั้นจะเรียกว่าเป็น ไอโซโทปของธาตุนั้น


ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 มกราคม 2554 เวลา 21:57

    ตรวจงานท้ายชั่วโมง ทำได้ถึงข้อ 39

    ตอบลบ