วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


เฉลย 50 วินาที

ไอโอดีน (อังกฤษ:Iodine) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 53 และสัญลักษณ์คือ I ไอโอดีน (เป็นคำในภาษากรีก Iodes, มีความหมายว่า "สีม่วง") เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต สมบัติทางเคมีของไอโอดีนมีความไวน้อยกว่าธาตุในกลุ่มฮาโลเจนด้วยกัน ไอโอดีนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพ และสีย้อมผ้า
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%99


เฉลย 5 วัน
สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส
สารละลายของแข็ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น
สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม เป็นต้น
สารละลายแก๊ส หมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม ลูกเหม็นในอากาศ ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น
ตัวละลายแต่ละชนิดจะใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนั้นจะต้องรวมเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน ตัวอย่างเช่น

- เกลือ น้ำตาลทราย สีผสมอาหาร จุนสี สารส้ม กรดเกลือ กรดกำมะถัน ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
- โฟม ยางพารา พลาสติก ใช้น้ำมันเบนซินเป็นตัวทำละลาย
- สีน้ำมัน โฟม พลาสติก แลคเกอร์ ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย
- สีน้ำมันใช้น้ำมันสนเป็นตัวทำละลาย
สารละลายอิ่มตัว หมายถึง

สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกละลายอยู่เต็มที่ จนไม่สามารถละลายต่อไปได้อีกแล้ว ณ อุณหภูมิขณะนั้น

สารละลายไม่อิ่มตัว หมายถึง

สารละลายที่ตัวถูกละลายสามารถจะละลายในตัวทำละลายได้อีกการละลายของ


สารชนิดใดชนิดหนึ่งจะละลายในตัวทำละลายได้มากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ

1. สมบัติของตัวทำละลาย เช่น น้ำสามารถละลายน้ำตาลได้ แต่ไม่สามารถละลาย ในแนพธาลีน (ลูกเหม็นได้)

2. สมบัติของตัวถูกละลาย เช่น เกลือแกงละลายได้ดีในน้ำ หินปูนไม่ละลายไมjน้ำ

3. อุณหภูมิของสารละลาย โดยเมื่อสารละลายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตัวถูกละลายบางชนิดจะ ละลายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อนำสารละลายอิ่มตัวไปทำให้ร้อน ตัวถูกละลายที่เป็นของแข็งจะละลายได้มากขึ้น และถ้าปล่อยให้สารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูงเย็นลง

ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/13.htm


เฉลย ข้อ 2 0.3 g/min

แมกนีเซียม (อังกฤษ: Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1

เฉลยข้อ 4
ในทางเคมี สารประกอบไอออนิก (อังกฤษ: Ionic compound) เป็นสารประกอบเคมีที่เกิดจากโลหะ (ที่มีประจุบวก) กับอโลหะ (ที่มีประจุลบ) มารวมกันเป็นสารประกอบ (หรือเรียกว่าเป็นเกลือ) โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก ซึ่งสารประกอบไอออนิกจะเป็นสารประกอบที่ไม่มีสูตรเคมี แต่สามารถเขียนสูตรอย่างง่ายได้ เพราะไอออนจะเกาะกันหลายตัว ส่วนใหญ่จะเป็น เกลือกับเบส แต่กรดจะเป็นสารประกอบโควาแลนซ์
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81


เฉลย ข้อ 3
เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1

เลขอะตอม เดิมใช้หมายถึงลำดับของธาตุในตารางธาตุ เมื่อ ดมิทรี อีวาโนวิช เมนเดลีเยฟ (Dmitry Ivanovich Mendeleev) ทำการจัดกลุ่มของธาตุตามคุณสมบัติร่วมทางเคมีนั้น เขาได้สังเกตเห็นว่าเมื่อเรียงตามเลขมวลนั้น จะเกิดความไม่ลงรอยกันของคุณสมบัติ เช่น ไอโอดีน (Iodine) และเทลลูเรียม (Tellurium) นั้น เมื่อเรียกตามเลขมวล จะดูเหมือนอยู่ผิดตำแหน่งกัน ซึ่งเมื่อสลับที่กันจะดูเหมาะสมกว่า ดังนั้นเมื่อเรียงธาตุในตารางธาตุตามเลขอะตอม ตารางจะเรียงตามคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ เลขอะตอมนี้ถึงแม้โดยประมาณ แล้วจะแปรผันตรงกับมวลของอะตอม แต่ในรายละเอียดแล้วเลขอะตอมนี้จะสะท้อนถึงคุณสมบัติของธาตุ

เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) ได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการกระเจิงของ สเปกตรัมของรังสีเอ็กซ์ (x-ray)ของธาตุ และตำแหน่งที่ถูกต้องบนตารางธาตุ ในปี ค.ศ. 1913 ซึ่งต่อมาได้ถูกอธิบายด้วยเลขอะตอม ซึ่งอธิบายถึงปริมาณประจุในนิวเคลียส หรือ จำนวนโปรตอนนั่นเอง ซึ่งจำนวนของโปรตอนนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A1


เฉลย ข้อ 4
วาเลนซ์อิเล็กตรอน (อังกฤษ:valance electrons) ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยาการหาปริมาณวาเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุที่มี วิธีหนึ่งก็ดูที่ หมู่ธาตุ (คอลัมน์ในแนวตั้ง) ที่ซึ่งธาตุเรียงอยู่ ยกเว้น หมู่ 3-12 (โลหะทรานซิชั่น-transition metals) ตัวเลขในคอลัมน์ขวาสุดคือจำนวน วาเลนซ์อิเล็กตรอน ของธาตุในหมู่นั้น
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99



เฉลย ข้อ 2
ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%9B


เฉลย ข้อ 1
กรดไฮโดรคลอริกเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) ในน้ำ เป็นกรดสูงกรดแร่แข็งแรงพบตามธรรมชาติในกรดในกระเพาะอาหาร

กรดกระเพาะอาหารเป็นหนึ่งในหลั่งหลักของกระเพาะอาหาร ประกอบด้วยส่วนใหญ่ของกรดไฮโดรคลอริกและ acidifies เนื้อหากระเพาะอาหารที่ pH ของ 1-2 กรดในกระเพาะอาหารทำหน้าที่เป็นอุปสรรคต่อเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อและมีความสำคัญต่อการย่อยอาหาร โปรตีน denatures pH ต่ำและมันจึงทำให้พวกเขาอ่อนแอต่อการย่อยสลายโดยเอนไซม์

ท้องตัวเองได้รับความคุ้มครองจากกรดโดยการหลั่งของชั้นเมือกหนาและ neutralizing โซเดียมไบคาร์บอเนต อิจฉาริษยาหรือแผล
ที่มาhttp://www.lifemojo.com/health-guides/glossary/view/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81-86817/th


เฉลย ข้อ 4

ฝนกรด คือ น้ำฝนที่รวมตัวกันกับแก๊สออกไซด์ของvโลหะบางชนิดในอากาศ เกิดเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด และมีความเป็นกรดอยู่ในช่วง pH = 3-5
แก๊สออกไซด์ของอโลหะที่ทำให้เกิดฝนกรด ได้แก่
- แก๊สออกไซด์ของกำมะถัน เช่น แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์
- แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน เช่น แก๊สไดไนโตรเจนไตรออกไซด์ แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ และแก๊สไดไนโตรเจนเพนตะออกไซค์
- แก๊สออกไซด์ของคาร์บอน เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

แหล่งที่ปล่อยแก๊สทำให้เกิดฝนกรด
- แก๊สออกไซด์ของกำมะถัน เกิดจากการปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ รวมทั้งไอเสียรถยนต์ ในธรรมชาติจากปล่องภูเขาไฟ การย่อยสลายพืช
- แก๊สออกไซด์ ของไนโตรเจน เกิดจากเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ควันเสียรถยนต์ ควันเสียจากโรงงานแบตเตอรี่ รวมทั้งควันจากไฟไหม้ป่า
ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/rain/


เฉลย ข้อ


ปฏิกิริยาดูดความร้อน

ปฏิกิริยาดูดความร้อน ในปฏิกิริยาความร้อนพลังงานจะถูกดึงเข้ามาใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นความร้อน จากสิ่งที่อยู่รอบข้าง

ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยการลดลงของอุณหภูมิ

ปฏิกิริยาดูดความร้อนไม่ใช่เรื่องปกติ

ตัวอย่างเช่น

การย่อยสลายโดยใช้ความร้อน ตัวอย่างเช่น การเผาแคลเซียมคาร์บอนเนตจำเป็นต้องใช้ความร้อนสูงมาก เพื่อให้แตกสลาย
แคลเซียมคาร์บอนเนทได้เป็น แคลออกไซด์ +คาร์บอนได้ออกไซด์
การสังเคราะห์แสงที่ใช้พลังงาน
การแพร่ของเกลือบางอย่างในน้ำ
ที่มาhttp://www.skooolthai.net/id755.htm



เฉลย ข้อ2

การเหม็นหืนมีสาเหตุดังนี้

ก. ปฏิกิริยาออกซิเดชัน เกิดจากออกซิเจนในอากาศเข้าทำปฏิกิริยาตรงตำแหน่งพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนในโมเลกุลของกรดไขมัน ได้แอลดีไฮด์และกรดไขมันโมเลกุลเล็ก ๆ ซึ่งมีกลิ่นเหม็นหืน

ข. ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส ระหว่างไขมันกับน้ำ โดยมีเอนไซม์จากจุลินทรีย์ในอากาศเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันโมเลกุลเล็กที่ระเหยง่ายและมีกลิ่นเหม็น

การเหม็นหืนของไขมันและน้ำมันเกิดจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวในไขมันและน้ำมันทำปฏิกิริยากับออกซิเจนบริเวณตำแหน่งพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอนเกิดเป็นสารเปอร์ออกไซด์ ซึ่งจะสลายตัวเป็นแอลดีไฮด์และกรดไขมันโมเลกุลขนาดเล็กที่ระเหยง่ายและมีกลิ่นเหม็น สมการแสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 4 รหัส ว 43282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 6
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ และการรักษาดุลยภาพของเซลล์
2. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบาย เกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ อุณหภูมิ กรด-เบสและแร่ ธาตุต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต
3. นำความรู้เรื่องการรักษาดุลยภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่น
4. สำรวจ สังเกตลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตต่างๆในท้องถิ่น ลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตหลากหลาย และจำแนกเป็นกลุ่มได้
5. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายและนำเสนอประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ และผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
6. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
7. สังเกตสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมและสร้างสถานการณ์จำลองแสดงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
9. สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างอะตอม ชนิดและจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมจาก สัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ
10. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา
11. อธิบายการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ และทำนายแนวโน้มของสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
12. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลหรือในโครงผลึกของสาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสาร ในเรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
13. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติ สารประกอบและเลขอะตอมของธาตุ

ข้อตกลงในการเรียน

1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.6 ที่ http://m6term2debsp.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จ
ม.6 ส่งที่ karnpitcha_j@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 6/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-6328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป